Grit in Thai Athletes

01 February, 2021

โดยทั่วไปเวลาเราเอารถเข้าศูนย์ เรารู้ว่าเราต้องทำอะไร เวลามีไข้ไปหาหมอ เรารู้ว่าเราต้องทำอะไร แต่ถ้าเรามีนัดกับนักจิตวิทยาการปรึกษา หลายคนจะกังวล ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวหรือทำอะไรบ้าง และนึกไม่ออกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในห้องการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เราต้องตอบคำถามอะไรบ้าง และอีกคำถามมากมายที่เราสงสัยใคร่รู้ ดังนั้น Jai Center จึงขอแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อตอบคำถามต่าง ๆ เหล่านี้

โดยทั่วไปเวลาเราเอารถเข้าศูนย์ เรารู้ว่าเราต้องทำอะไร เวลามีไข้ไปหาหมอ เรารู้ว่าเราต้องทำอะไร แต่ถ้าเรามีนัดกับนักจิตวิทยาการปรึกษา หลายคนจะกังวล ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวหรือทำอะไรบ้าง และนึกไม่ออกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในห้องการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เราต้องตอบคำถามอะไรบ้าง และอีกคำถามมากมายที่เราสงสัยใคร่รู้ ดังนั้น Jai Center จึงขอแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อตอบคำถามต่าง ๆ เหล่านี้

 

จำเป็นหรือไม่ ต้องมีความผิดปกติทางจิตก่อนจึงจะไปหานักจิตวิทยา – คำตอบ คือ “ไม่จำเป็น”

 

ถึงแม้ว่าคนทั่วไปมักคิดว่านักจิตวิทยา ต้องให้บริการกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรง อาทิ เช่น ภาวะซึมเศร้ารุนแรง หรือปัญหาการทำร้ายตนเอง แต่แท้จริงแล้วนักจิตวิทยาการปรึกษายังทำหน้าที่ให้บริการกับผู้คนที่มีความไม่สบายใจทั่ว ๆ ไป อีกด้วย อาทิ เช่น ความเครียดจากการทำงาน ผลจากการเปลี่ยนงาน ปัญหาจากการหย่าร้าง หรือการฝึกทักษะการเป็นพ่อแม่ เป็นต้น ดังนั้นผู้มารับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ไม่จำเป็นต้องมีปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงแล้วถึงมาพบนักจิตวิทยา แท้จริงแล้วผู้มารับบริการการปรึกษาเชิงจิตวิทยาส่วนใหญ่ มักมาด้วยความไม่สบายใจที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน อาทิ เช่น ความเครียดจากการทำงาน ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ความวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาสัมพันธภาพ เป็นต้น

 

แล้วอะไรเกิดขึ้นในห้องการปรึกษาเชิงจิตวิทยา?

 

โดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องการปรึกษาเชิงจิตวิทยา คือ ผู้รับบริการจะมีโอกาสได้บอกเล่าเรื่องราว ความไม่สบายใจต่าง ๆ ของตนอย่างเต็มที่ และได้บอกความต้องการของตนในการมาพบนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาการปรึกษาจะใช้ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาในสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ โดยเป็นสัมพันธภาพที่มั่นคง ปลอดภัย อบอุ่นและไม่มีเงื่อนไข เพื่อเอื้อให้ผู้รับบริการเกิดการตระหนักรู้ เข้าใจตนเอง ผู้อื่น และความไม่สบายใจของตน ทั้งในระดับความคิด ความรู้สึก และการกระทำของตน ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการได้เข้าใจความไม่สบายใจของตนในมุมมองใหม่ ๆ นำไปสู่การจัดการปัญหาของตนเองได้อย่างเหมาะสมนั้นเอง

 

สำหรับระยะเวลาในการพบนักจิตวิทยา โดยทั่วไปแล้วนักจิตวิทยาจะให้บริการการปรึกษา ครั้งละ 50-60 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับจำนวนการนัดหมายนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาของผู้รับบริการ ซึ่งนักจิตวิทยาอาจจะทำการนัดหมายเพียง 1 ครั้ง หรืออาจจะหลายครั้งก็เป็นได้

 

แล้วการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเหมาะกับใครบ้าง และเมื่อไหร่ควรนึกถึงนักจิตวิทยาการปรึกษา

 

การปรึกษาเชิงจิตวิทยาเป็นสัมพันธภาพระหว่างนักจิตวิทยาและผู้รับบริการ ที่เอื้อให้ผู้รับบริการได้ตระหนักรู้เข้าใจตนเอง และความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น นำไปสู่การแก้ปัญหาของตนเองอย่างเหมาะสมลงตัว ดังนั้นการปรึกษาเชิงจิตวิทยาจึงเหมาะกับบุคคลที่มีความไม่สบายใจที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต เช่น เริ่มนอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป เบื่ออาหาร หรือกินมากกว่าปกติ มีความคิดลบเกิดขึ้นบ่อย ๆ หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย รู้สึกไม่สดชื่น ไม่มีชีวิตชีวา มีความขัดแย้งกับคนรอบข้างมากขึ้น อีกทั้งความไม่สบายใจดังกล่าวเกิดขึ้นกับเรามาสักระยะหนึ่งและไม่หายไปจากเรา (ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป)

 

Jai Center หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจบทบาทของนักจิตวิทยาการปรึกษามากขึ้น และเปิดโอกาสให้การไปพบนักจิตวิทยาการปรึกษา เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่ง เมื่อท่านต้องเผชิญกับปัญหาหรือความไม่สบายใจ

 

โอกาสหน้า Jai Center จะเล่าให้ฟังถึงแนวทางต่าง ๆ ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาใช้เป็นเสมือนแผนที่นำทาง เมื่อผู้รับบริการมาพบนักจิตวิทยา

 

#JaiCenter #นักจิตวิทยา #จิตวิทยา #psychologist #psychology #counselling #therapy #psychotherapy

Mindfulness

22 November, 2020